Hi,I'm

Chawansit Chuenarom

3rd years Computer Engineering student Ramkhamhaeng University

16 มีนาคม 2560

SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows)

SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows)

  โปรแกรม Spss คืออะไร  
           โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows) เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูง ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติประเภทต่าง ๆ และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาในรูปของตาราง หรือแผนภูมิชนิดต่าง ๆ ได้ทั้งแบบ ๒ มิติ และ ๓ มิติ การใช้งานโปรแกรมไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว แต่ก็ยังมีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่ยังมีแนวคิดที่ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมSPSS เป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้ความรู้ทางสถิติเป็นอย่างดีบ้าง โอกาสในการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานค่อนข้างน้อยบ้าง แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากการใช้โปรแกรม SPSS ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางสถิติเป็นอย่างดีเสมอไป แต่ขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น เช่น ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วการใช้งานโปรแกรม SPSS มักจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย แต่ก็ไม่เสมอไป กล่าวคือ SPSS สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี เช่น การทำบัญชีและคำนวณรายรับรายจ่ายในครอบครัว ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงาน วิเคราะห์ทัศนคติ และความพึงพอใจต่อสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้ SPSS ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือบุคคลในระดับอื่น ๆ อยู่ที่ว่าจะรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพดังกล่าวนั้นอย่างไร

  หลักการใช้ Spss เบื้องต้น  
ลักษณะของผลงาน
         เป็นองค์ความรู้ เทคนิค และเคล็ดลับในการใช้โปรแกรม SPSS for Window สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ที่มาจากประสบการณ์ในการใช้โปรแกรม SPSS ของผู้เขียน โดยเขียนอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจและมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำวิจัย เคล็ดลับในการใช้โปรแกรม SPSS อย่างมีประสิทธิภาพทุกขั้นตอน ได้แก่
1.ขั้นการเตรียมข้อมูล (Data Preparation) เป็นการกล่าวถึงขั้นตอน/ เทคนิควิธีการต่าง ๆ ดังนี้
เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)
เทคนิคการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Editing) จากแบบสอบถาม
เทคนิคการกำหนดรหัสข้อมูล (Coding) จากแบบสอบถามเพื่อป้อนข้อมูลลงในโปรแกรม
เทคนิคการกำหนดคุณลักษณะของตัวแปร อันได้แก่ ประเภท ความกว้าง ทศนิยม คำอธิบายชื่อตัวแปร การกำหนดค่าตัวแปร ค่าความสูญเสียของข้อมูล การจัดตำแหน่งข้อมูล และการกำหนดระดับการวัดของตัวแปรนั้น ๆ
เทคนิคการรวมไฟล์ (Merge Files) ในกรณีที่มีแบบสอบถามจำนวนมาก ๆ และแบ่งกันป้อนข้อมูลหลายคน
เทคนิคการทำความสะอาดข้อมูล (Clean Data) หรือตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลภายหลังป้อนข้อมูลลงในโปรแกรมเสร็จแล้ว โดยใช้คำสั่ง Sort Cases และคำสั่ง Frequencies
2.ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) เป็นการกล่าวถึงเทคนิคการใช้คำสั่งในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังต่อไปนี้
เทคนิคการใช้คำสั่ง Recode (การกำหนดค่าให้กับตัวแปรใหม่ทั้งที่ทับกับข้อมูลเดิม และไม่ทับกับข้อมูลเดิม หรือสร้างเป็นตัวแปรใหม่)
เทคนิคการใช้คำสั่ง Frequencies ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เทคนิคการใช้คำสั่ง Descriptive ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เทคนิคการวิเคราะห์สำหรับการนำเสนอข้อมูลเป็นรายด้าน และภาพรวม
เทคนิคการกำหนดจำนวนหลักของจุดทศนิยมในตารางผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Print Out)
3.ขั้นการนำเสนอข้อมูล (Data Presentation) เป็นการกล่าวถึง ขั้นตอนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
เทคนิคการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตาราง
เทคนิคการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิชนิดต่าง ๆ
Chawansit Chuena-rom
0802947501
Bangkok,Thailand

SEND ME A MESSAGE