Hi,I'm

Chawansit Chuenarom

3rd years Computer Engineering student Ramkhamhaeng University

12 มกราคม 2560

TACIT KNOWLEDGE & EXPLICIT KNOWLEDGE

KNOWLEDGE

Tacit Knowledge & Explicit Knowledge


ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge )


ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก เป็นสิ่งที่เห็นได้ไม่ชัด เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติบ้างก็จัดว่าเป็น “เคล็ดวิชาเป็น “ภูมิปัญญา”   เปนสิ่งที่มาจากการใช้วิจารณญาณ  ปฏิภาณไหวพริบ เปนเทคนิคเฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติแต่ละท่าน


                                ความรู้ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge)


ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น พวกหลักวิชาหรือทฤษฏีทั้งหลาย อันได้มาจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์  ผ่านกระบวนการพิสูจน์

ตารางเปรียบเทียบ

ผลการวิจัยในตางประเทศสรุปสัดสวนของความรู้สองประเภทนี้ว่า ความรู้ที่เป็นหลักวิชาที่ต้องผ่านการ  พิสูจน์หรือเขียนออกมาเป็นทฤษฏีนั้นถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน หากเปรียบกับภูเขานํ้าแข็ง ความรู้ส่วนที่เป็น Explicit Knowledge  นั้นจะเห็นได้ง่าย   คล้ายกับสวนยอดของภูเขานํ้าแข็งที่อยู่พ้นนํ้า   แต่ความรู้ส่วนที่เป็น Tacit Knowledgeนั้นแฝงอยู่ในตัวคนทําให้มองไม่เห็นเปรียบได้กับส่วนของภูเขานํ้าแข็งที่จมใต้นํ้า ซึ่งถ้านํามาเทียบกันแลวจะพบว่ามีปริมาณมากกว่าส่วนที่พ้นนํ้าค่อนข้างมาก  การที่เราเข้าใจความแตกตางระหว่างความรู้ทั้งสองประเภทนี้ จะทําให้เราเข้าใจความหมายของคําว่า “จัดการ”    ได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น คุณลักษณะของความรู้สองประเภทนี้แตกตางกันค่อนข้างจะมาก จะเห็นได้ว่า ความรู้แจ้ง (Explicit knowledge)   นั้นเป็นความรู้ที่ได้มาจากการทดลอง ได้มาจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์    (Scientific Method)   เป็นความรู้ที่ผ่านการพิสูจน์ (Proven Knowledge)  เป็นความรู้ที่ผ่าน  การพิสูจน์(Proven Knowledge)  เป็นความรู้ที่ถูกทําให้กลายเปนเรื่องทั่วไป (Generalize)”   ไม่ติดอยูในบริบทใดบริบทหนึ่ง    ในขณะที่ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) นั้นมีคุณลักษณะที่เรียกได้ว่าค่อนข้างจะตรงกันข้าม  คือมีลักษณะเป็น “เคล็ดวิชา”  เป็นสิ่งที่ได้มา“ สดๆ”  มีบริบท (Context)  ติดอยู ยังไม่ได้ถูก “Generalize” ยังไม่ได้ “ถูกปรุง”  แต่อย่างใด



จัดทำโดย
5751001610 นายชวาลสิทธิ์  ชื่นอารมณ์ นักศึกษาชั้นปีที่3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Chawansit Chuena-rom
0802947501
Bangkok,Thailand

SEND ME A MESSAGE